1984power-608
image source

แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan : PDP) เป็นแผนแม่บทในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ ว่าด้วยการจัดหาพลังงานไฟฟ้าในระยะยาว 15 -20 ปี เพื่อสร้างความมั่นคงและความเพียงพอของกำลังการผลิตไฟฟ้า โดยคำนึงนโยบาย พลังงานของประเทศและปัจจัยต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่เหมาะสม การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน นโยบายการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน ฯลฯ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าจะมีการทบทวนเป็นระยะๆ หรือทุก 1 – 2 ปี เพื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมมุติฐานเดิมหรือไม่ เพื่อจัดทำฉบับใหม่หรือฉบับปรับปรุง
กระทรวงพลังงานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มีการพิจารณาจัดทําแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของ ประเทศไทยชุดใหม่ เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่ปรับตัว และแผนการลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน ตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งการเตรียมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2558 ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยโดยรวม ดังนั้น จึงมีการจัดทําแผน PDP2015 เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่จะเกิดขึ้น กระทรวงพลังงาน ได้วางกรอบแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ โดยจัดทําเป็น 5 แผนหลัก ได้แก่

1) แผนพัฒนากําลังผลิต ไฟฟ้าของประเทศไทย (Thailand Power Development Plan: PDP)
2) แผนอนุรักษ์พลังงาน (Energy Efficiency Development Plan: EEDP)
3) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงาน ทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP)
4) แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติของ ไทย
5) แผนบริหารจัดการน้ํามันเชื้อเพลิง

green-energy
image source

ทั้งนี้ การจัดทําแผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ และ แผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558 – 2579 (แผน PDP2015) จะให้ความสําคัญใน ประเด็นดังนี้

1) ด้านความมั่นคงทางพลังงาน (Security) ต้องตอบสนองปริมาณความต้องการไฟฟ้า เพื่อรองรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยจะสอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ อัตราเพิ่มของประชากร และอัตราการขยายตัวของเขตเมือง รวมถึงการกระจายสัดส่วน เชื้อเพลิง (Fuel diversification) ที่ใช้ผลิตไฟฟ้าให้มีความเหมาะสม

2) ด้านเศรษฐกิจ (Economy) ต้องคํานึงถึงต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่เหมาะสม ประชาชนและภาคธุรกิจยอมรับได้และไม่เป็นอุปสรรคต่อ การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะยาว การใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพในภาค เศรษฐกิจต่างๆ เพื่อชะลอการสร้างโรงไฟฟ้าและลดการนําเข้าพลังงานจากต่างประเทศ

3) ด้าน สิ่งแวดล้อม (Ecology) ต้องลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อหน่วยการ ผลิตไฟฟ้า จากการปลดปล่อยของโรงไฟฟ้า แผน PDP2015 ได้เน้นการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า ด้วยการกระจายเชื้อเพลิงในการ ผลิตไฟฟ้า การลดการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติ การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด การจัดหาไฟฟ้าจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนวียน รวมทั้ง การพัฒนาระบบส่งไฟฟ้า ระบบจําหน่ายไฟฟ้า เพื่อรองรับการพัฒนาพลังงานทดแทน และการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

บทสรุปของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ มีอะไรบ้าง

การจัดทําแผนพัฒนากําลังผลิต ไฟฟ้า พ.ศ. 2558 – 2579 (Power Development Plan: PDP2015) พร้อมทั้งจัดทําแผนอนุรักษ์ พลังงาน (Energy Efficiency Development Plan: EEDP) และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan: AEDP)จะเน้นที่ความสอดคล้องกันกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง จัดทําและประมาณการโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้คาดการณ์ว่าจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาวที่ร้อยละ 3.94 ต่อปี

และในส่วนของการบูรณาการกับ แผนพลังงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าผลการเพิ่มประสิทธิภาพตามแผนอนุรักษ์พลังงาน จะส่งผลให้การใช้ไฟฟ้า ลดลงประมาณ 89,672 ล้านหน่วย (GWh) ในปี 2579

img-banner
image source

นอกจากนั้น ยังมีแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและ พลังงานทางเลือก เน้นการพัฒนาพลังงานทดแทนให้เต็มตามศักยภาพในแต่ละพื้นที่ โดยจะมีการส่งเสริม การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะ ชีวมวล และก๊าซชีวภาพ รวมถึงพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น ลม แสงอาทิตย์ พร้อมขยายระบบส่งไฟฟ้าและระบบจําหน่ายไฟฟ้าของ 3 การไฟฟ้า ให้รองรับการส่งเสริม พลังงานทดแทนเป็นรายพื้นที่ ตลอดจนพัฒนาระบบ Smart Grid เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

จากนโยบายดังกล่าวได้กําหนดกรอบประมาณการสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงของ แผน PDP2015 ในปี 2579 ดังนี้

 

ประเภทเชื้อเพลิง ณ ปี 2557ประมาณร้อยละ ณ ปี 2569  ประมาณร้อยละ ณ ปี 2579 ประมาณร้อยละ
ซื้อไฟฟ้าพลังน้ําต่างประเทศ 7 10 – 15 15 – 20
ถ่านหินเทคโนโลยีสะอาด (รวมลิกไนต์) 20 20 – 25 20 – 25
พลังงานหมุนเวียน (รวมพลังน้ํา) 8 10 – 20 15 – 20
ก๊าซธรรมชาติ 64 45 – 50 30 – 40
นิวเคลียร์ 0 – 5
ดีเซล/น้ํามันเตา 1